ก่อตั้งชมรมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย (Thai Association for the Study of Pain)

ในปี พ.ศ. 2532 ขณะที่ ศ.สมศรี  เผ่าสวัสดิ์  เป็นนายกสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยนั้นได้รับการติดต่อจาก Prof. Michael Cousins (วิสัญญีแพทย์ออสเตรเลีย)  ในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง  President of International Association for the Study of Pain (IASP) ว่าจะมาประเทศไทยพร้อมทั้ง  Prof. John D. Loeser (ประสาทศัลยแพทย์จาก University of Seatle)  ซึ่งเป็นเลขาธิการสมาคม ทั้งสองท่านนี้กำลังทำงานเกี่ยวกับ  Pain อย่างเข้มเข็ง  เข้าใจว่าคงต้องการเดินทางมาเผยแพร่ความรู้และหาสมาชิกของสมาคม

ดังนั้นสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย  ร่วมกับภาควิชาวิสัญญีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  ได้จัด Pain Workshop  ขึ้นเมื่อวันที่  10-12  กุมภาพันธ์  2533  ณ  ห้องประชุมวีกิจ  วีรานุวัตต์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศทั้งสองท่านนี้เป็นวิทยากร  โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลยนอกจากหาที่พักและดูแลให้ความสะดวกท่านทั้งสองเท่านั้น  สำหรับเรื่องห้องพักทางชมรมฯได้รับการสนับสนุนจากโรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่าตลอดเวลาที่วิทยากรสิงท่านมาพัก  5  วัน  ในการประชุมคราวนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมประชุมจำนวนมากถึง  170  คน  และได้มีการสมาคมเป็นสมาชิกของ  IASP  โดยกรอกใบสมัครและมี  Professor  ทั้งสองเซนต์รับรองให้  เราได้รวบรวมใบสมัครส่งไปให้สมาคม  IASP ที่ Seatle  โดยผ่านท่านประธานและเลขาธิการสมาคม  โดยที่  ศ.พญ.สมศรี  เผ่าสวัสดิ์  ขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย  ได้ทำการตกลงกับท่านประธานและเลขาธิการของสมาคม  IASP  ว่าประเทศไทยนั้นมิใช่ประเทศที่ร่ำรวย  ถ้าหากว่าสมาชอกเราจะต้องจ่ายเงินค่าสมาชิกปีละ  100  เหรียญสหรัฐ  คงจะไม่สามารถจ่ายเงินค่าสมาชิกได้แน่  จึงขอตกลงจ่ายเป็นราคาพิเศษ  ในลักษณะเดียวกันกับที่สมาคมวิสัญญีแพทย์จ่ายค่าสมาชิกต่อ  World Federation of Anaesthesiologist  และขอจ่ายแค่คนละ  2  เหรียญสหรัฐ  (ห้าสิบบาทในขณะนั้น  ท่านทั้งสองตกลงและ  ศ.พญ.สมศรี  เผ่าสวัสดิ์  ในฐานะผู้ประสานงานได้นัดประชุมสมาชิกเมื่อวันที่  5  มีนาคม  2533  มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 30 ท่าน  ทั้งจากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด  (ขณะนั้นสมาชิกมีเพียง  70  กว่าท่าน)  และไดจัดตั้งเป็นชมรมโดยมีชื่อว่า  Thai Chapter  of  IASP  (ชมรมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย)

โดยเลือกประธาน  คือ  ศ.นพ.สิระ  บุณยะรัตเวช  และเลขาธิการได้แก่  ศ.พญ.สมศรี  เผ่าสวัสดิ์  เพื่อนำไปเสนอชื่อยัง  President ของ  IASP  คือ  Prof.M.Cousins  ซึ่งท่านได้นำเรื่องเสนอในที่ประชุมใหญ่ของ  IASP  ณ  เมือง  Adelaid  ประเทศออสเตรเลีย  ระหว่างวันที่ 1-6   เมษายน  และที่ประชุมได้มีการยอมรับ  Thai Chapter  ในการประชุมใหญ่ที่ออสเตรเลียเรียบร้อย  และได้มีการติดต่อประสานงานกันมาตลอดตั้งแต่นั้นมาสำหรับด้านความสัมพันธ์กับ  IASP  กับชมรม  Pain  ในสมัยก่อนโน้นใกล้ชิดกันมา  ซึ่งได้รับการยืนยันจาก  พญ.วราภรณ์  ไวคกุล  (นายกสมาคม Thai Association for the Study of Pain ปี  2545-2548)  ว่า  Prof.Kenjiro  Dan  วิสัญญีแพทย์ญี่ปุ่น  ซึ่งอยู่ที่เมือง  Fukuoka  ประเทศญี่ปุ่นยังพูดว่า  ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับการสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษ  อาจเป็นได้ว่าในสมัยที่ท่านประธานและเลขาธิการสมาคมของประเทศไทยนั้น  ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีมากจาพวกเราซึ่งเป็นคนไทยตามประเพณีของเรา  ประกอบกับทั้งสองท่านนั้นเป็นวิสัญญีแพทย์และประสาทศัลยแพทย์  ซึงของไทยเราท่าน  ศ.นพ.สิระ  บุณยะรัตเวช  ก็เป็นประสาทศัลยแพทย์  จึงทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น  นอกจากนั้นทางสมาคม  IASP  ยังได้กรุณาส่งวารสาร  Pain ให้สถาบันต่างๆ ในประเทศไทยตามที่เราเสนอรายชื่อต่อไปอีกด้วยประมาณ  10  สถาบัน  นับว่าได้รับการสนับเป็นอย่างดี  หลังจาก  Prof. M Cousins  หมดวาระจากการเป็น  President  Prof. J.Loser  ได้รับตำแหน่งเป็นประธานคนต่อมา   หลังจากนั้นประมาณปี  2537  ได้ทราบว่ามีการประกาศขอเพิ่มอัตราค่าสมาชิกจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นคนละ  40  เหรียญสหรัฐ ในปี  2533  สมาคมฯ  มีสมาชิกจำนวน  117  คน  ซึ่งมาจากต่างสถานทั้บัทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด  และมีทุกสาขาวิชา  เช่น  แพทย์  ทันตแพทย์  พยาบาล  เภสัชกร  นักสังคมสงเคราะห์  นักกายภาพบำบัด  เป็นต้น และสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกปี  พ.ศ.2534 มีสมาชิก  200  คน  ปีพ.ศ. 2535  มีสมาชิก  431  คน  ปี พ.ศ. 2539  มีสมาชิก  488  คน  ปัจจุบันนี้มีสมาชิกทั้งหมด  1,502  คน

ชมรมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย  ได้ดำเนินการขอจดทะเบียนเป็นสมาคมการศึกษาเรื่องความปวด  เมื่อวันที่  31  กรกฎาคม  2545 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์  2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. เป็นศูนย์รวมของการศึกษาเรื่องความปวดและการบำบัดความปวดในประเทศไทย
  2. สนับสนุนส่งเสริมการศึกษา วิจัย และบำบัดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปวด
  3. เผยแพร่องค์ความรู้เรื่องความปวดและการบำบัดความปวดแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
  4. เพื่อส่งเสริมงานวัฒนธรรม

กิจกรรมของสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย

  1. การจัดประชุมวิชาการประจำปี
  2. Interhospital Pain Conference ทางสมาคมฯ  จะจัดเดือนเว้นเดือนในวันจันทร์สัปดาห์ที่4 ของเดือน  โดยเวียนไปตามโรงเรียนแพทย์ รพ.ศิริราช รพ.จุฬาลงกรณ์  รพ.รามาธิบดี  และสถาบันเจ้าภาพจะเป็นผู้หา case
  3. ออกรายการโทรทัศน์
    • ออกรายการโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการรักษาอาการปวดสู่ประชาชนเนื่องในวันรณรงค์ต่อต้านความปวดโลก วันรณรงค์ต่อต้านความปวดโลก  (Global day against pain)
  4. การจัดประชุมร่วมกับสถาบันต่างๆและ Lecture tour
  5. วารสาร  Pain news
    • จะเป็นการรวบรวมบทความทางการแพทย์และเรื่องที่น่าสนใจที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศมาจัดพิมพ์และจัดส่งไปยังสมาชิกสมาคมฯ  และแพทย์  พยาบาล ตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่สนใจ  ซึ่งจะจัดพิมพ์ทุกๆ 3 เดือน
  6. การจัดทำ Clinical Practice Guideline
    • CPG Acute Pain
    • CPG Chronic Musculoskeletal Pain
    • CPG Neuropathic Pain
    • Opioids special interest group